วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

พลังของโซเชียลมีเดีย กับการกระจายข่าวน้ำประปาเหม็นมีตะกอนของตำบลแห่งหนึ่ง

พลังของโซเชียลมีเดีย กับการกระจายข่าวน้ำประปาเหม็น มีตะกอนของตำบลแห่งหนึ่ง

คนไทย เป็นคนที่มีพวกพ้อง จะแบ่งเป็นพวกใครพวกมัน แม้กระทั่งการเข้ามาทำงานท้องถิ่น เป็น อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ก็ต้องมีคนของตัวเอง มีผู้สนับสนุน มีทีมงานที่ไว้ใจได้ แต่เมื่อเข้ามาทำงาน จะทำงานได้ดีแค่ไหน ทำให้ท้องถิ่นเจริญก้าวหน้าเพียงใด ก็อยู่ที่ฝีมือในการทำงาน

แต่หลายที่ มีเรื่องราวของการทุจริต คดโกง ซึ่งผลงานที่ปรากฏขึ้น มันก็จะฟ้องออกมา

และแล้วก็เกิดข่าว น้ำประปาในหมู่บ้าน มีตะกอน มันเน่าเหม็น น้ำประปา ถ้าตักมาอาบ ก็จะมีอาการคันตามผิวหนังซะอีก เมื่อชาวบ้านไปร้องเรียน คนที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ก็จะเริ่มขยับ ดูแลน้ำประปาสักครั้งหนึ่ง น้ำประปาในหมู่บ้าน ก็เริ่มดีได้อยู่ช่วงหนึ่ง เวลาผ่านไปไม่นาน น้ำประปาก็เหม็นอีกแล้ว...

ชาวบ้านหลายคน ไม่อยากมีเรื่อง ในท้องถิ่น มีผู้มีอิทธิพล ชาวบ้านหลายคนรักสงบ ไม่อยากเดือดร้อน อะไรที่ทนได้ก็ทนกันไป บ้านไหนที่รองน้ำฝนใส่ตุ่มไว้ ก็เอาน้ำฝนมาอาบ...
ค่าน้ำประปา ก็จ่ายทุกเดือน แต่คุณภาพน้ำ แย่ คนที่รับผิดชอบ ได้เงินมา เอาเงินไปทำอะไรกัน ทำไมน้ำประปามันแย่ขนาดนี้
คนในหมู่บ้าน บ่นแล้วก็บ่นอีก แต่ไม่มีใครกล้าทำอะไร เพราะไม่อยากยุ่ง ไม่อยากเดือดร้อน

ดูเหมือนว่า การที่น้ำประปา เหม็นเน่า มีตะกอนแบบนี้ คงมีการทุจริตอมเงินไปใช้ แทนที่จะเอาเงินไปใช้ทำน้ำประปา ให้มันดีๆ ไม่เหม็น ไม่มีตะกอน ให้มันใช้ได้เหมือนที่อื่นๆบ้าง

และแล้ว วันหนึ่ง คนในหมู่บ้านคนหนึ่ง ทนไม่ไหว เลย ร้องเรียนเข้าไปในรายการทีวี แล้วรายการทีวี ก็ส่งนักข่าว มาทำข่าว ถ่ายวิดีโอ เอาไปตัดต่อ ออกในรายการทันที

ภาพข่าว รายละเอียดออกในรายการร้องทุกข์ของชาวบ้านในเช้าวันหนึ่ง คนที่ร้องเรียน และได้ออกทีวี บอกเล่าความเดือดร้อน ส่วนหนึ่งก็กังวลเหมือนกันว่า ตัวเองจะเดือดร้อนจากความไม่พอใจของผู้มีอิทธิพลในหมู่บ้าน แต่อีกใจหนึ่ง ก็ทนไม่ไหวแล้วนะ น้ำประปา มันใช้ไม่ได้เลย ไม่ได้ขอใช้ฟรีๆนะ เสียค่าน้ำประปาให้ทุกเดือน

เมื่อ ข่าวการร้องเรียนเรื่องน้ำประปาเหม็น ออกในรายการแล้ว ทางสถานีโทรทัศน์ก็เอาคลิปรายการลงใน ยูทูป เพื่อให้ดูย้อนหลังได้ แล้วคนในหมู่บ้าน ก็ไปเปิดดูคลิปรายการ แล้วตัดเฉพาะช่วงที่พูดถึงปัญหาน้ำประปาในหมู่บ้าน ตัดเป็นคลิปแล้วโพสต์แชร์ลงไปในเฟซบุค แล้วแท็กให้คนในหมู่บ้านได้รู้ว่า มีข่าวเรื่องนี้ออกมาทีวีแล้วนะ

เมื่อคนในหมู่บ้านบางคน เห็น ก็กดถูกใจ และ แชร์ต่อ เพราะเดือดร้อนจากเรื่องนี้จริงๆ

แม้ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าออกมาร้องเรียนเพราะไม่อยากมีปัญหา แต่การช่วยกันแชร์ ก็แสดงว่า เห็นด้วย อยากให้มีการแก้ไข เมื่อคนในหมู่บ้านที่เล่น facebook เห็นก็ช่วยกันแชร์ต่อๆไป

ปกติแล้วคนในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่ เปิดดูแต่ละคร ไม่ค่อยสนใจดูข่าวมากนัก ข่าวร้องเรียนที่ออกในทีวีช่องนั้น หลายคนไม่เคยเปิดดูรายการนั้นเลย เมื่อมีคนแชร์ต่อกันไปเรื่อยๆ และเอาไปพูดปากต่อปาก คนในหมู่บ้านยิ่งตื่นตูมอยู่แล้ว ก็เอามาพูดต่อๆกันไป แชร์ต่อๆไป จนไปถึง ผู้ใหญ่บ้าน คนที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องน้ำประปา...

เมื่อเป็นข่าวขึ้นมา คนที่เกี่ยวข้องก็เริ่มออกมาแก้ตัวกันพลันวันล่ะสิ และแล้ว เรื่องก็ไปถึงหูนายอำเภอ จนวันต่อมา นายอำเภอ ต้องเดินทางมาดูในตำบล ในเกิดปัญหาตรงไหนยังไง ทำไม น้ำประปามันเหม็น...

"เสียชื่ออำเภอไปเลยนะ เป็นข่าวแบบนี้เนี่ย"

ถือว่า เป็นพลังของสื่อโซเชียล ที่แสดงออกร่วมกัน อยากให้มีการแก้ไขปัญหา ....

ในความเป็นจริง ถ้าการร้องเรียนออกทีวี แล้วคนในหมู่บ้านในตำบล ไม่รับรู้ด้วย คนที่รับผิดชอบในการทำน้ำประปา อาจจะแก้ปัญหาแบบผักชีโรยหน้า ทำให้น้ำประปาดีขึ้นอยู่ช่วงหนึ่ง หลังจากนั้น ก็เน่ากว่าเดิม เมื่อเจอกระแสสังคมเล็กๆ เจอแชร์กันในเฟสบุค คนในหมู่บ้าน กดดูคลิปกว่า 300-400 ครั้ง แค่นี้ก็ครึ่งค่อนหมู่บ้านแล้ว...

ถ้าวันหนึ่งข้างหน้า น้ำประปา มันแย่อีก มีคนร้องเรียนขึ้นมา ไม่แน่ว่า อาจจะหนักยิ่งกว่านี้ สื่ออาจจะเล่นหนักกว่านี้ เพราะเดี่ยวนี้มีทีวีหลายช่อง ที่พยายามแข่งกันทำงาน แข่งกันนำเสนอข่าวสาร

ำงานเพื่อคนในท้องถิ่น ก็ควรทำให้เต็มที่ ทุกคนต้องการสิ่งดีๆ ของที่ดีๆทั้งนั้น ยิ่งจ่ายเงินให้แล้ว ไม่ได้ขอฟรีๆนะ
พลังของโซเชียล กับข่าวน้ำประปามีตะกอนที่ออกทีวี สู่การเปลี่ยนแปลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น