เมื่อเหมืองแร่มาอยู่ใกล้บ้าน
นั่งรถผ่านวงเวียนสามแยกของตำบลแห่งหนึ่ง เห็นป้ายขนาดใหญ่ ประท้วงไม่เอาเหมืองแร่เกลือใต้ดิน มันจะทำให้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสียหายมากมาย
แต่ถ้าขึ้นป้ายแบบนี้ แสดงว่า เหมืองแร่ที่ว่านี้ กำลังจะมาแล้ว
ค้นหาข่าวย้อนหลัง เรื่องราวของการขออนุญาติทำเหมืองแร่ เกิดขึ้นมา 2-3 ปีก่อน แรกเริ่มก็มีการต่อต้าน แต่พอวันเวลาผ่านไป เหมืองแร่ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่มากขึ้น
มองหลายพื้นที่ในภาคอีสาน ที่มีการประท้วง ไม่เอาเหมืองแร่ ไม่เอาอุตสาหกรรมที่ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่แล้วในที่สุด มันก็เกิดขึ้นในพื้นที่
เพราะ "เงิน" "ผลกำไร" และ "มูลค่าทางเศรษฐกิจ" และประโยชน์ที่จะได้รับ ที่สามารถหยิบยกมาอ้างอิง เอามาพูดได้มากมายหลายหน้ากระดาษ
..ส่วนเรื่องของผลกระทบสิ่งแวดล้อม ก็ค่อยๆเงียบหายไป พร้อมกับข้อมูลจากฝ่ายที่จะสร้างเหมืองที่ออกมาแก้ต่าง ทำความเข้าใจ ตอบข้อสงสัยเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม บอกว่า ทุกสิ่งที่พวกต่อต้าน กังวลนั้น "เรามีระบบที่ปลอดภัย และจะไม่เกิดปัญหาเหล่านั้น"
แบบนี้ ออกมาประท้วง ต่อต้านไป ก็เท่านั้นล่ะสิ
สำหรับชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ ใกล้พื้นที่ที่จะสร้างเหมือง ก็รวมพลังออกแรงต่อต้านกันเต็มที่ ส่วนชาวบ้านที่อยู่ห่างออกมา 10 กิโลเมตรขึ้นไป ก็จะรู้ข่าวเป็นลำดับถัดมา ถ้าเป็นคนที่สนใจข่าวสาร รู้ข้อมูลเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม คงรู้ว่า ต่อไปจะเป็นอย่างไร จะเกิดอะไรขึ้นกับพื้นที่บริเวณนี้
แต่ชาวบ้านหลายคน สนใจแต่เรื่องการทำมาหากิน ดูละครทีวี ... แค่นี้ชีวิตก็ทุกข์ยากลำบากมากมายแล้ว
เมื่อเหมืองแร่ มาอยู่ใกล้บ้าน ก็คงได้แต่ทำใจ เพราะ จะไปประท้วงต่อต้าน แสดงพลังอย่างไร สุดท้าย มันก็เกิดเหมืองแร่ที่ว่าขึ้นจนได้
แต่ถ้าการประท้วงต่อต้าน มีพลังมากพอ ที่จะออกสื่อต่างๆ และมีแนวร่วมที่มีอิทธิพลมากพอ การต่อต้านขัดขวาง ก็มีโอกาสที่จะสำเร็จ...
แต่หลายพื้นที่ที่มีปัญหา ชาวบ้านที่ออกมาต่อต้าน ไม่ได้มีพลังมากถึงขนาดนั้น...
นั่งรถผ่านวงเวียนสามแยกของตำบลแห่งหนึ่ง เห็นป้ายขนาดใหญ่ ประท้วงไม่เอาเหมืองแร่เกลือใต้ดิน มันจะทำให้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสียหายมากมาย
แต่ถ้าขึ้นป้ายแบบนี้ แสดงว่า เหมืองแร่ที่ว่านี้ กำลังจะมาแล้ว
ค้นหาข่าวย้อนหลัง เรื่องราวของการขออนุญาติทำเหมืองแร่ เกิดขึ้นมา 2-3 ปีก่อน แรกเริ่มก็มีการต่อต้าน แต่พอวันเวลาผ่านไป เหมืองแร่ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่มากขึ้น
มองหลายพื้นที่ในภาคอีสาน ที่มีการประท้วง ไม่เอาเหมืองแร่ ไม่เอาอุตสาหกรรมที่ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่แล้วในที่สุด มันก็เกิดขึ้นในพื้นที่
เพราะ "เงิน" "ผลกำไร" และ "มูลค่าทางเศรษฐกิจ" และประโยชน์ที่จะได้รับ ที่สามารถหยิบยกมาอ้างอิง เอามาพูดได้มากมายหลายหน้ากระดาษ
..ส่วนเรื่องของผลกระทบสิ่งแวดล้อม ก็ค่อยๆเงียบหายไป พร้อมกับข้อมูลจากฝ่ายที่จะสร้างเหมืองที่ออกมาแก้ต่าง ทำความเข้าใจ ตอบข้อสงสัยเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม บอกว่า ทุกสิ่งที่พวกต่อต้าน กังวลนั้น "เรามีระบบที่ปลอดภัย และจะไม่เกิดปัญหาเหล่านั้น"
แบบนี้ ออกมาประท้วง ต่อต้านไป ก็เท่านั้นล่ะสิ
สำหรับชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ ใกล้พื้นที่ที่จะสร้างเหมือง ก็รวมพลังออกแรงต่อต้านกันเต็มที่ ส่วนชาวบ้านที่อยู่ห่างออกมา 10 กิโลเมตรขึ้นไป ก็จะรู้ข่าวเป็นลำดับถัดมา ถ้าเป็นคนที่สนใจข่าวสาร รู้ข้อมูลเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม คงรู้ว่า ต่อไปจะเป็นอย่างไร จะเกิดอะไรขึ้นกับพื้นที่บริเวณนี้
แต่ชาวบ้านหลายคน สนใจแต่เรื่องการทำมาหากิน ดูละครทีวี ... แค่นี้ชีวิตก็ทุกข์ยากลำบากมากมายแล้ว
เมื่อเหมืองแร่ มาอยู่ใกล้บ้าน ก็คงได้แต่ทำใจ เพราะ จะไปประท้วงต่อต้าน แสดงพลังอย่างไร สุดท้าย มันก็เกิดเหมืองแร่ที่ว่าขึ้นจนได้
แต่ถ้าการประท้วงต่อต้าน มีพลังมากพอ ที่จะออกสื่อต่างๆ และมีแนวร่วมที่มีอิทธิพลมากพอ การต่อต้านขัดขวาง ก็มีโอกาสที่จะสำเร็จ...
แต่หลายพื้นที่ที่มีปัญหา ชาวบ้านที่ออกมาต่อต้าน ไม่ได้มีพลังมากถึงขนาดนั้น...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น