วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ตามใจเด็กมาตลอด คิดว่า ยังไงก็ต้องได้เสมอ..

ตามใจเด็กมาตลอด คิดว่า ยังไงก็จะต้องได้เสมอ

มีบ้านนึง พยายามอบรมสั่งสอนเด็ก ให้เป็นคนที่ขยัน มีน้ำใจ ช่วยเหลืองานบ้าน
.. ถ้าทำงาน มีน้ำใจ ช่วยงานบ้าน ผู้ใหญ่ ก็จะซื้อขนมให้
.. แต่หลายครั้ง ผู้ใหญ่ ก็ใจอ่อนซะเอง สงสาร ชอบโอ๋เด็กๆ

..ไม่ว่า เด็กจะช่วยงานบ้าน หรือดื้อ ไม่ยอมช่วยทำอะไร อู้งาน
เวลาที่ผู้ใหญ่ ซื้อขนม เข้ามา ก็จะแบ่งให้เด็กๆทุกคน

.. อ้าวแบบนี้ จะช่วยงานบ้าน หรือไม่ช่วย ก็ได้เหมือนกันนี่
แล้วกูจะเหนื่อย ช่วยทำงานบ้านไปทำไม
ยังไง ผู้ใหญ่ก็ให้..

..นั่นสินะ
.. เด็กหลายคน ซึมซับนิสัยความเห็นแก่ตัวจากผู้ใหญ่หลายคน
..คือ ขี้เกียจทำงาน
ไม่มีน้ำใจช่วยทำงานบ้าน

ผู้ใหญ่ต้องใจแข็ง เพื่อให้เด็กเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

..ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก
.. มีหลายบ้าน หลายครอบครัว ที่เห็นตัวอย่างจากบางบ้านที่เด็กเชื่อฟังผู้ปกครอง
น่ารัก ช่วยเหลือทำงานบ้าน
.. แต่พอหันมามองดูลูกหลานของตัวเอง
.. ดื้อ ไม่เชื่อฟัง
...บอกอะไรก็ไม่ฟัง
..เอาแต่จะนอนเล่นแทปเลต เล่นเกมส์ อย่างเดียว
..เรียกให้ช่วยงาน ก็ต้องเรียกหลายครั้ง

.. เมื่อเป็นแบบนี้ ก็ต้องใจแข็งกันบ้าง
ไม่มีน้ำใจ ไม่ช่วยเหลืองาน ก็ไม่สมควรได้กินขนม ที่ผู้ใหญ่ ซื้อมาให้กิน
..

บทเรียนสะท้อนใจ คนใช้แต่เงิน

บทเรียนสะท้อนใจ คนใช้แต่เงิน ีลูกที่พ่อแม่ คอยตามใจ หาเงินให้ใช้ตลอด จึงไม่ตั้งใจทำงาน ไม่ขวนขวาย เพียรพยายามหางาน เมื่อเงินหมด ก็ไปถอนเงินจากธนาคาร ปีแล้วปีเล่า .. .. จนมาถึงจุดหนึ่ง ที่มีเงินเหลือในบัญชีธนาคารออมสิน เพียงไม่กี่พันบาท แล้วไปกรอกใบถอนเงิน ไปยื่นที่เคาน์เตอร์ธนาคารออมสิน สาจาในห้างโลตัส กดบัตรคิว แล้วรอเรียกตามหมายเลข .. คนที่ทำธุรกรรมก่อนหน้าเขา นับเงินปึกใหญ่ เอามาฝากเข้าบัญชี .. หลายคน เขียนใบฝากเงิน แล้วนับเงินเอาเงินเช้าบัญชี .. แต่ตัวเขาเอง กลับเขียนใบถอนเงิน เพื่อถอนเงินไปใช้ต่อ .. มองดูแล้ว ก็สะท้อนใจลึกๆ จากที่แต่ก่อน เคยมีเงินใช้มากมาย แต่ไม่เคยคิดต่อยอด ทำให้เงินงอกเงย หรือทำงาน จนมีเงินเก็บเพิ่มขึ้น ถ้าคิดใหม่ ตั้งใจทำงาน ทำมาหากิน ก็จะไม่เดือดร้อน .. .. หลายคน คิดไม่ได้ เคยแต่ใช้เงินมาตลอด .. แต่ก็ยังดี ที่เขาคนนี้ ยังฉุกคิดได้บ้าง ว่า ควรจะต้องเรื่มคิด เริ่มทำอะไรบ้างล่ะ .. ดีที่ไม่เอาแต่ใช้เงินอย่างเดียว ความคิดใหม่ ก็เริ่มต้น สู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีในวันข้างหน้า

จับเวลาการอ่านหนังสือ อีกหนึ่งวิธีกระตุ้นให้เด็กรักการอ่าน

จับเวลาการอ่านหนังสือ อีกหนึ่งวิธีกระตุ้นให้เด็กรักการอ่าน

ในการฝึกฝนเด็กที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ ให้สนใจอ่านหนังสือ เราอาจจะต้องหาวิธีการที่น่าสนใจ
มากระตุ้นให้เด็กสนใจ และรักการอ่านมากขึ้น ถึงแม้ผู้ปกครอง จำพร่ำสอนให้เด็กๆ สนใจ ที่จะอ่านหนังสือให้มากขึ้น
แต่เป็นธรรมชาติของเด็กๆ ที่จะสนใจที่จะเล่น มากกว่า เรื่องเรียน

.. เรื่องนี้ ผู้ใหญ่ ต้องช่วยกระตุ้นกันหน่อย..

การจับเวลา อ่านหนังสือ ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ โดยเริ่มจากเวลาน้อยๆ เพียง 1 นาที
อุปกรณ์ที่ใช้
1.หนังสือ
2.นาฬิกาจับเวลา หรือ แอปจับเวลาใน smartphone

ยุค พ.ศ. 2560 นี้ การค้นหาแอปจาก App store หรือ Play store ดูตะสะดวก และง่ายกว่า การไปซื้อนาฬิกาจับเวลามาใช้

วิธีการ คือ จับเวลาเพียง 1 นาที ให้อ่านหนังสือ ในหน้าที่กำหนดไว้

เวลาเพียง 1 นาที มันรวดเร็วมากๆ เด็กจะรู้สึกว่า มันแป๊บเดียว ใช้เวลาไม่นาน
ทักษะนี้ เป็นวิธีการง่าย ๆสำหรับเด็กที่อ่านหนังสือไม่คล่อง แม้จะอ่านแค่ 1 นาที แต่เราสามารถให้อ่านซ้ำอีก 2-3 รอบ เพื่อเก็บสถิติ จำนวนคำต่อนาที ได้ หลายรอบ

การฝึกแบบนี้ เป็นวิธีการง่ายๆ ที่จะเห็นพัฒนาการในการอ่าน ในเวลาไม่นาน
อ่านครั้งแรก อาจจะไม่คล่อง ติดๆขัดๆบ้าง
แต่อ่านครั้งต่อๆไป จะเริ่มคุ้น และจดจำ คำศัพท์ที่อ่านไม่ออก จำนวนคำที่อ่านได้ ต่อ 1 นาทีจะเพิ่มขึ้น

ให้เด็กชาย ป.4 คนหนึ่ง อ่านนิทานอิสป คิดเป็นหน่วย คำต่อนาที (Word Per Minute)
ครั้งที่ 1 = 43 WPM
ครั้งที่ 2 = 66 WPM

ถึงแม้ว่า จำนวนบรรทัดที่อ่าน อยู่ที่ 4-5 บรรทัด ถือว่า อ่านได้น้อย แต่เมื่อนับเป็นจำนวนคำ
รู้สึกว่า ตัวเลขมันเยอะ
.. และมีกำลังใจในการอ่านมากขึ้น
มีกำลังใจ ในการที่จะทำลายสถิติของตัวเอง

ลองค้นดู ข้อมูลเปรียบเทียบความเร็วในการอ่าน

อัดเสียงหนังสือ audio book 150 wpm
โฆษกประกาศการประมูล 250 wpm
นักพูดเร็วที่สุดในโลก 586 wpm

การอ่านตำรวเพื่อทำความเข้าใจ ความเร็วอยู่ที 50-75 wpm
โดยเฉลี่ย คนส่วนใหญ่ จะอ่านได้ประมาณ 200 wpm

ค่าเฉลี่ยคนเรา มีความสามารถในการอ่านได้ประมาณ 125-250 คำต่อนาที
* สมองคนเราจะประมวลผลการฟังสูงสุด ไม่เกิน 150 คำต่อนาที
ที่มา www.productivityware.com/articles/arct43.php

เมื่อเห็นตัวเลขเป้าหมาย แล้ว การพยายามที่จะพัฒนาการอ่านต่อนที ไปให้ถึงเป้าหมาย ความเร็วในการอ่านต่อนาที ที่ตัวเลขมาตรฐาน = 150 คำต่อนาที สำหรับเด็กได้ จึงเป็นเป้าหมายที่น่าไปให้ถึงครับ

ความเปลี่ยนแปลงของเด็กเห็นแก่ตัว (14พค2560)

ความเปลี่ยนแปลงของเด็กเห็นแก่ตัว

หากเรามีสิธีอบรมสั่งสอน เด็กที่เห็นแก่ตัว ก็สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นเด็กดี มีน้ำใจและมีเหตุผลได้
ที่สำคัญ ต้องให้เหตุผลที่ชัดเจนกับเด็กๆ ให้ความยุติธรรม ความสมเหตสมผล
ไม่ให้เด็กรู้สึกว่า ถูกเอาเปรียบ หรือเสียเปรียบแต่อย่างใด

มีเด็กคนหนึ่ง ผู้ปกครองบอกว่าจะพากลับไปยังสถานที่ที่เคยไปออกค่าย ซึ่งเป็นสถานที่ที่เด็ก มีความประทับใน ความผูกพัน..

และอยากที่จะกลับไปอีก
.. ที่ผ่านมาเด็ก มีความดื้อ มึน ซุกซนตามประสาเด็กๆ
ทำตัวงี่เง่า น่าทำโทษอยู่หลายครั้ง
แต่ผู้ใหญ่ ก็พยายามอดทนสั่งสอนให้เด็กเป็นคนดี

.. หลายครั้งที่ทำอะไรให้ แต่เด็กไม่เห็นคุณค่า ก็บอกว่า แบบนี้ ไม่สมควรจะให้อะไร หากเห็นแก่ตัวอย่างนี้

มีหลายกิจกรรมที่ต้องการจะพาเด็ก ไปเปิดประสบการณ์ เพื่อพัฒนาความคิด สมองให้เติบโตสมวัย

มีเด็กสองคนที่จะต้องพาสลับกันไป อบรมสั่งสอนให้ช่วยทำงานบ้าน แล้วก็สมควรจะได้รับรางวัล
แต่ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะทำหรือไม่ทำ ก็ดูเหมือนว่า ผู้ใหญ่จะต้องให้ขนม ให้เงิน ให้ของกิน
..ถ้าแบบนี้ ใครๆก็อู้งานได้งั้นสิ

.งั้นเปลี่ยนกติกาใหม่ จะต้องขยัน ช่วยทำงานงาน เวลาเล่นคือเล่น เวลาทำงาน ก็คือ เวลาทำงาน
ในเดือนพฤษภาคม มีกิจกรรมที่จะต้องไปออกค่ายวิชาการ ในช่วงปลายเดือน ถูกประกาศผ่านทางเวบไซต์ของสำนักงานแห่งนั้นพอดี

เด็กสองคน ก็ควรจะให้โอกาสทั้งสองคนที่ได้ไป
แต่เนื่องจากมีข้อจำกัด ต้องให้ไปทีละคน
1 เดือน ก็ควรแบ่งกันไป คิดถึงใจของอีกคนที่ไม่ได้ไปด้วย

ให้คนที่ได้เลือกก่อน เลือกว่าจะไปค่ายวิชาการ หรือไปสถานที่ที่ไปเข้าค่าย
คนเลือกคนแรก อยากไปเข้าค่ายวิชาการ งั้นก็ตามนั้น
อีกคนก็ได้ไปเที่ยว สถานที่ที่พวกเขาเคยได้ไปเข้าค่ายละกัน

เมื่อบอกอีกคน ว่า จะได้ไปเยี่ยมสถานที่ที่ได้เข้าค่ายนะ เด็กคนที่สองบอกว่า ไม่อยากไป
..แต่ลับหลังมาบอกว่า อยากไปมาก แต่เกิดอาการ ไข่ดัน เลยปวดบริเวณขาหนีบข้างอวัยวะเพศ ไม่สามารถเดินเหินได่สะดวก

อ้าว งั้นก็อดไปสิ
เช้าวันที่จะต้องไปเยี่ยมค่ายถ้าเด็กคนแรก ตื่นทัน ก็ไปด้วยกันก็ได้
แต่ขึ้นรถประจำทาง ตอน 5.20 น.นะ
จะต้องตื่นเตรียมตัวตั้งแต่ 4.30 น. ปรากฏว่า เด็กไม่ได้เตรียมตัว เลยตื่นตอน 5.20 น. อดไป

... ไม่เป็นไร ก็รอไปเข้าค่ายวิชาการอย่างเดียว
.. ผ่านไป 1 วัน มารู้ข่าวว่า ญาติสาว จะแวะมาเยี่ยมบ้าน
1 ปีจะมาครั้งนึง .. มาวันที่ตรงกับที่เด็ฏคนแรก จะต้องไปเข้าค่ายวิชาการ
เอาละสิ

1 ปี ญาติสาวมาครั้งเดียว แต่ค่ายวิขาการมีทุกเดือน
จะเสียสละ อยู่พบญาติสาวมั้ย
ถึงแม้ว่าญาติสาวจะรับรู้ เข้าใจ อยากให้เด็กได้ไปเข้าค่าย เพราะญาติสาวก็อยากมีโอกาสไปเข้าค่ายแบบนี้เหมือนกัน..

งั้นให้เด็กตัดสินใจเอง
... ด้วยเหตุผลที่ชัดเจน ญาติมาเยียมปีละครั้ง แต่ค่ายวิชาการ มีทุกเดือน
เด็กก็พูดว่า งั้นไปเดือนหน้าก็ได้ครับ

อย่างน้อยก็ลดความเห็นแก่ตัว มีน้ำใจ คิดถึงญาติ คนในครอบครัวบ้าง

ทุกสิ่งต้องเริ่มมาจากการอบรมสั่งสอน มาเป็นระยะๆ กว่าที่เด็กจะเข้าใจ และลดละความเห็นแก่ตัวลงได้