วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

จับเวลาการอ่านหนังสือ อีกหนึ่งวิธีกระตุ้นให้เด็กรักการอ่าน

จับเวลาการอ่านหนังสือ อีกหนึ่งวิธีกระตุ้นให้เด็กรักการอ่าน

ในการฝึกฝนเด็กที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ ให้สนใจอ่านหนังสือ เราอาจจะต้องหาวิธีการที่น่าสนใจ
มากระตุ้นให้เด็กสนใจ และรักการอ่านมากขึ้น ถึงแม้ผู้ปกครอง จำพร่ำสอนให้เด็กๆ สนใจ ที่จะอ่านหนังสือให้มากขึ้น
แต่เป็นธรรมชาติของเด็กๆ ที่จะสนใจที่จะเล่น มากกว่า เรื่องเรียน

.. เรื่องนี้ ผู้ใหญ่ ต้องช่วยกระตุ้นกันหน่อย..

การจับเวลา อ่านหนังสือ ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ โดยเริ่มจากเวลาน้อยๆ เพียง 1 นาที
อุปกรณ์ที่ใช้
1.หนังสือ
2.นาฬิกาจับเวลา หรือ แอปจับเวลาใน smartphone

ยุค พ.ศ. 2560 นี้ การค้นหาแอปจาก App store หรือ Play store ดูตะสะดวก และง่ายกว่า การไปซื้อนาฬิกาจับเวลามาใช้

วิธีการ คือ จับเวลาเพียง 1 นาที ให้อ่านหนังสือ ในหน้าที่กำหนดไว้

เวลาเพียง 1 นาที มันรวดเร็วมากๆ เด็กจะรู้สึกว่า มันแป๊บเดียว ใช้เวลาไม่นาน
ทักษะนี้ เป็นวิธีการง่าย ๆสำหรับเด็กที่อ่านหนังสือไม่คล่อง แม้จะอ่านแค่ 1 นาที แต่เราสามารถให้อ่านซ้ำอีก 2-3 รอบ เพื่อเก็บสถิติ จำนวนคำต่อนาที ได้ หลายรอบ

การฝึกแบบนี้ เป็นวิธีการง่ายๆ ที่จะเห็นพัฒนาการในการอ่าน ในเวลาไม่นาน
อ่านครั้งแรก อาจจะไม่คล่อง ติดๆขัดๆบ้าง
แต่อ่านครั้งต่อๆไป จะเริ่มคุ้น และจดจำ คำศัพท์ที่อ่านไม่ออก จำนวนคำที่อ่านได้ ต่อ 1 นาทีจะเพิ่มขึ้น

ให้เด็กชาย ป.4 คนหนึ่ง อ่านนิทานอิสป คิดเป็นหน่วย คำต่อนาที (Word Per Minute)
ครั้งที่ 1 = 43 WPM
ครั้งที่ 2 = 66 WPM

ถึงแม้ว่า จำนวนบรรทัดที่อ่าน อยู่ที่ 4-5 บรรทัด ถือว่า อ่านได้น้อย แต่เมื่อนับเป็นจำนวนคำ
รู้สึกว่า ตัวเลขมันเยอะ
.. และมีกำลังใจในการอ่านมากขึ้น
มีกำลังใจ ในการที่จะทำลายสถิติของตัวเอง

ลองค้นดู ข้อมูลเปรียบเทียบความเร็วในการอ่าน

อัดเสียงหนังสือ audio book 150 wpm
โฆษกประกาศการประมูล 250 wpm
นักพูดเร็วที่สุดในโลก 586 wpm

การอ่านตำรวเพื่อทำความเข้าใจ ความเร็วอยู่ที 50-75 wpm
โดยเฉลี่ย คนส่วนใหญ่ จะอ่านได้ประมาณ 200 wpm

ค่าเฉลี่ยคนเรา มีความสามารถในการอ่านได้ประมาณ 125-250 คำต่อนาที
* สมองคนเราจะประมวลผลการฟังสูงสุด ไม่เกิน 150 คำต่อนาที
ที่มา www.productivityware.com/articles/arct43.php

เมื่อเห็นตัวเลขเป้าหมาย แล้ว การพยายามที่จะพัฒนาการอ่านต่อนที ไปให้ถึงเป้าหมาย ความเร็วในการอ่านต่อนาที ที่ตัวเลขมาตรฐาน = 150 คำต่อนาที สำหรับเด็กได้ จึงเป็นเป้าหมายที่น่าไปให้ถึงครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น