วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

การตอกย้ำซ้ำๆ ทำให้น่าเชือถือ !!

การตอกย้ำซ้ำๆ ไม่ได้ทำให้ข้อความนั้น กลายเป็นจริงขึ้นมา แต่อาจทำให้มันน่าเชื่อถือ

นั่นสิครับ หลายคนใช้กลยุทธแบบนี้ ใช้การตอกย้ำข้อความนั้นบ่อยๆ จนกลายเป็นความน่าเชื่อถือ เพราะเห็นบ่อย และเห็นมานาน

กลยุทธนี้ เหมือนที่มองเห็นในสื่อทีวี หรือเปล่านะ

"รายการเล่าข่าวที่มีอายุนานกว่า 10 ปี แต่ก็มีคนด่าเยอะ เพราะเอาแต่โม้ ดราม่า โกหกก็มี พูดให้โอเว่อร์ก็มี แต่คนดูรายการนี้ส่วนใหญ่ ก็เชื่อถือ และเปิดดูรายการเล่าข่าวรายการนี้ทุกๆเช้า แล้วหลายเรื่องที่เอามาพูดมาวิจารณ์กันต่อ ก็มาจากรายการนี้ซะด้วยสิ"

เออ ก็อาจจะจริงนะ แต่ก่อน อาจจะเป็นอย่างนั้น แต่ทุกวันนี้ ทีวีมีให้เลือกดูหลายช่อง แล้วยังมีโซเชียลมีเดีย ที่ช่วยกันแชร์ โพสต์ เม้น บอกต่อกันมากมาย คงจะมีคนไทยรุ่นเก่า ที่ไม่ค่อยใช้เทคโนโลยีพวกนี้นี่ล่ะ ถึงตั้งตาดูรายการเล่าข่าวรายการนี้อยู่"

"แม้มันจะมั่วๆ เว่อๆบ้าง แต่ก็ดีกว่าไม่มีอะไรให้ติดตามดูนะ"
"อย่าเอาความเคยชินมาอ้าง แค่ลองกดรีโมทดูช่องอื่นบ้าง"

"การตอกย้ำและความเคยชินนี่ มีทั้งข้อดี และข้อเสีย ข้อดีคือ ทำให้เกิดความผูกพัน กับสิ่งนั้น แม้วันเวลาจะผ่านไปเนิ่นนานเพียงใดก็ตาม"
"แล้วข้อเสียล่ะ"

"ข้อเสียก็มี ถ้าการตอกย้ำ ซ้ำๆ ทำให้คนเห็นความจริง รู้ว่า มันผิด และยอมรับมันไม่ได้ สิ่งที่ตีกลับ ก็คือ ความเกลียดชัง ไม่ยอมรับ และต่อต้านอย่างรุนแรง"
"ถึงจุดนั้น มันก็เกิดความเปลี่ยนแปลงน่ะสิ"

"เปลี่ยนแปลงยังไง แค่ชอบต่างกัน"
"ถ้าคิด เห็นต่างกัน สุดขั้วมากๆ ก็จะเหมือนกับการแบ่งสี เมื่อช่วงปี 2550-2553 ที่มีสีเหลือง สีแดง แล้วแสดงออกอย่างรุนแรง ก้าวร้าว ปลุกระดมผู้คนให้แบ่งข้าง เลือกข้าง"

"แต่นี่คงไม่ถึงขนาดนั้น เพราะไม่มีใครรู้สึกว่า เสียผลประโยชน์ของชาติ"
"อย่างน้อย ก็แบ่งเป็่นช่องน้อยสี กับช่องหลากสี ล่ะ"

"น่าเบื่อว่ะ ไอ้คำพูด วาทะกรรมที่ทำให้มันดูซับซ้อน งงยิ่งขึ้น ทำไมไม่พูดว่า แบ่งเป็นช่อง 3 กะ ช่อง 7 พูดให้มันชัดไปเลย ต้องให้คนมาแปลความหมายอีกว่า ช่องน้อยสี คือ ช่อง 3 ส่วนช่องหลากสี ช่องหลายสี คือ ช่อง 7 ทำไมชอบใช้คำอ้อมไปอ้อมมา"

สื่อมวลชนชอบสรรหาคำพูดมาใช้ คงเบื่อคำเก่าๆ"

"เออ คงอยากให้มันมีสีสัน ถึงได้ประดิษฐ์คำพูดแปลกๆออกมา"
"กูก็อยากรู้เหมือนกัน ตอนนี้ มีช่องดิจิตอล เพิ่มมาอีกหลายช่อง มันจะประดิษฐ์คำพูดเรียกช่องอื่นๆว่ายังไง"

"มันสรรหาคำมาเรียกได้ทั้งนั้นล่ะ"
"ออ แล้วใช้วิธีการตอกย้ำซ้ำๆ จนคนเริ่มคุ้นเคย จำได้ใช่ปะ"

"ถ้าพูดถึงช่องหอยม่วง ช่องแดนสนธยา ช่องสาธารณะ หลายคนก็รู้แล้วว่า คือช่องไหน"
"เฉลยมาซิ กูงง"

"ช่องหอยม่วง ก็ช่อง 11 ช่องแดนสนธยา ก็ช่อง 9 หรือ โมเดิร์นไนท์ทีวี ส่วนช่องสาธารณะ ก็คือ ไทยพีบีเอส"
แต่ก่อนมีไม่กี่ช่อง จะตั้งฉายาก็พอจะจำได้ ถ้ามาตั้งฉายาให้ครบทุกช่องดิจิตอล คงต้องใช้เวลาท่องจำเหมือนท่องสูตรคูณกันล่ะ"
นี่คือ อิทธิพลของการตอกย้ำ ซ้ำๆ จนทำให้เกิดความน่าเชื่อถือขึ้นมา และเกิดการจดจำ

เช่นเดียวกับการตอกย้ำ ชุดข้อมูลต่างๆใส่สมองของผู้คนที่รับสื่อนั้นๆ ที่เห็นได้ชัด อย่างกรณีชุดข้อมูลของเสื้อเหลือง เสื้อแดง ที่ออกมาปลุกระดมกันในช่วง 7-8 ปีก่อน ทำให้คนที่เลือกข้าง ก็จะเปิดใจรับ และเชื่อข้อมูลของฝ่ายนั้น และต่อต้าน ไม่ยอมรับฟังข้อมูลของอีกฝ่าย จนเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง ต่างฝ่ายต่างยืนยันว่า ฝ่ายของตนเอง คือ ฝ่ายที่ "ถูกต้อง"

ส่วนใคร จะถูก จะผิด ก็ให้กาลเวลาที่ผ่านไป ตัดสินจากข้อมูลและพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นละกันนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น