Theขี้ฝุ่นริมทาง
วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
การประกวดพานบายศรี จาก8อำเภอ ที่งานมหกรรมโปงลาง ที่กาฬสินธุ์
https://youtu.be/N7Xd7OSRQmQ
กลับสู่รากเหง้าอีกครั้ง... กับการได้เห็นชาวบ้าน นักเรียน ผู้สูงวัย มานั่งทำพานบายศรี ประกวดแข่งขันกัน...
.. วิถีวัฒรธรรมที่เริ่มห่างหาย จากยุคโซเชียลอินเตอร์เนต
ที่จดจ่อกันแค่หน้าจอ..
.. ออกมาสัมผัสโลกกว้างกันบ้าง..
วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ฟังเพลงอัลบั้ม ลำน้ำชี - ศิลปินนาท ซูดาน [Full Album รวม10เพลง] งานเก่าหาฟังยาก
1.ลำน้ำชี - ธรรมชาติ แมกไม้ สายธาร เป็นสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิต เราจึงควรปกปักรีกษาเอาไว้ ไม่ควรไปรุกราน หรือแปรเปลี่ยนจากเดิมๆ ที่มีอยู่ เพื่อลูกหลานต่อไปในวันข้างหน้า
2.เขาคลี - เทือกเขาที่สวยงาม อยู่ในจังหวัดชัยภูมิ ที่มีนิทานปรัมปราเล่าเรื่องสืบต่อกันมา
3.ตัวจริงเสียงจริง - สังคมทุกวันนี้ ทุกคนต่างมีหนี้สินแบกรับกันทั่วหน้า แต่วิงวอนขอให้ช่วยเห็นใจคนจนตัวจริงเสียงจริงด้วย ไม่โกงไม่หนีแต่ไม่มีจะจ่าย
4.หายใจแผ่วๆ ภาษาซื่อของคนรักจริง แต่ติดตรงที่ยากจน ก็โดนเขาคาบไปกินก่อน
5.ทางตัน - เรื่องราวรักสามเส้าที่ไม่รู้จะจบอย่างไร เราะใจตัวเราเองที่แหละอ่อนแอเกินไป
6.กูแกล้งจน - สุภาษิตโบราณ เพื่อนกินหาง่าย เพื่อนตายหายาก ยังใช้ได้ดีเสมอ
7.รักเธอสุดตับ - บอกว่า รักเราสุดใจ แต่เราสิแน่กว่า รักเธอสุดตับเลย
8.อึ่งอ่างกับวัว - นิทานอิสป อีกเรื่องที่สะท้อนเรื่องราวการไม่รู้จักตนเอง
9.บาปกรรม - ไม่ใช่แค่เรื่องของความรักอย่างเดียว แต่ใครทำอะไรไว้ ผลกรรมก็จะย้อนคืนสู่ตัวเองเหมือนเดิม
10.รอรักที่ลำน้ำชี - สะท้อนเรื่องราวชีวิตชาวชนบทที่ต้องทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดเข้าไปขายแรงงานอยู่ในเมืองกรุง จนลืมชีวิตสังคมท้องทุ่งและคนข้างหลังที่ยังคอย
https://youtu.be/32uQTYe-or0
วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ตามใจเด็กมาตลอด คิดว่า ยังไงก็ต้องได้เสมอ..
ตามใจเด็กมาตลอด คิดว่า ยังไงก็จะต้องได้เสมอ
มีบ้านนึง พยายามอบรมสั่งสอนเด็ก ให้เป็นคนที่ขยัน มีน้ำใจ ช่วยเหลืองานบ้าน
.. ถ้าทำงาน มีน้ำใจ ช่วยงานบ้าน ผู้ใหญ่ ก็จะซื้อขนมให้
.. แต่หลายครั้ง ผู้ใหญ่ ก็ใจอ่อนซะเอง สงสาร ชอบโอ๋เด็กๆ
..ไม่ว่า เด็กจะช่วยงานบ้าน หรือดื้อ ไม่ยอมช่วยทำอะไร อู้งาน
เวลาที่ผู้ใหญ่ ซื้อขนม เข้ามา ก็จะแบ่งให้เด็กๆทุกคน
.. อ้าวแบบนี้ จะช่วยงานบ้าน หรือไม่ช่วย ก็ได้เหมือนกันนี่
แล้วกูจะเหนื่อย ช่วยทำงานบ้านไปทำไม
ยังไง ผู้ใหญ่ก็ให้..
..นั่นสินะ
.. เด็กหลายคน ซึมซับนิสัยความเห็นแก่ตัวจากผู้ใหญ่หลายคน
..คือ ขี้เกียจทำงาน
ไม่มีน้ำใจช่วยทำงานบ้าน
ผู้ใหญ่ต้องใจแข็ง เพื่อให้เด็กเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
..ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก
.. มีหลายบ้าน หลายครอบครัว ที่เห็นตัวอย่างจากบางบ้านที่เด็กเชื่อฟังผู้ปกครอง
น่ารัก ช่วยเหลือทำงานบ้าน
.. แต่พอหันมามองดูลูกหลานของตัวเอง
.. ดื้อ ไม่เชื่อฟัง
...บอกอะไรก็ไม่ฟัง
..เอาแต่จะนอนเล่นแทปเลต เล่นเกมส์ อย่างเดียว
..เรียกให้ช่วยงาน ก็ต้องเรียกหลายครั้ง
.. เมื่อเป็นแบบนี้ ก็ต้องใจแข็งกันบ้าง
ไม่มีน้ำใจ ไม่ช่วยเหลืองาน ก็ไม่สมควรได้กินขนม ที่ผู้ใหญ่ ซื้อมาให้กิน
..
บทเรียนสะท้อนใจ คนใช้แต่เงิน
จับเวลาการอ่านหนังสือ อีกหนึ่งวิธีกระตุ้นให้เด็กรักการอ่าน
จับเวลาการอ่านหนังสือ อีกหนึ่งวิธีกระตุ้นให้เด็กรักการอ่าน
ในการฝึกฝนเด็กที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ ให้สนใจอ่านหนังสือ เราอาจจะต้องหาวิธีการที่น่าสนใจ
มากระตุ้นให้เด็กสนใจ และรักการอ่านมากขึ้น ถึงแม้ผู้ปกครอง จำพร่ำสอนให้เด็กๆ สนใจ ที่จะอ่านหนังสือให้มากขึ้น
แต่เป็นธรรมชาติของเด็กๆ ที่จะสนใจที่จะเล่น มากกว่า เรื่องเรียน
.. เรื่องนี้ ผู้ใหญ่ ต้องช่วยกระตุ้นกันหน่อย..
การจับเวลา อ่านหนังสือ ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ โดยเริ่มจากเวลาน้อยๆ เพียง 1 นาที
อุปกรณ์ที่ใช้
1.หนังสือ
2.นาฬิกาจับเวลา หรือ แอปจับเวลาใน smartphone
ยุค พ.ศ. 2560 นี้ การค้นหาแอปจาก App store หรือ Play store ดูตะสะดวก และง่ายกว่า การไปซื้อนาฬิกาจับเวลามาใช้
วิธีการ คือ จับเวลาเพียง 1 นาที ให้อ่านหนังสือ ในหน้าที่กำหนดไว้
เวลาเพียง 1 นาที มันรวดเร็วมากๆ เด็กจะรู้สึกว่า มันแป๊บเดียว ใช้เวลาไม่นาน
ทักษะนี้ เป็นวิธีการง่าย ๆสำหรับเด็กที่อ่านหนังสือไม่คล่อง แม้จะอ่านแค่ 1 นาที แต่เราสามารถให้อ่านซ้ำอีก 2-3 รอบ เพื่อเก็บสถิติ จำนวนคำต่อนาที ได้ หลายรอบ
การฝึกแบบนี้ เป็นวิธีการง่ายๆ ที่จะเห็นพัฒนาการในการอ่าน ในเวลาไม่นาน
อ่านครั้งแรก อาจจะไม่คล่อง ติดๆขัดๆบ้าง
แต่อ่านครั้งต่อๆไป จะเริ่มคุ้น และจดจำ คำศัพท์ที่อ่านไม่ออก จำนวนคำที่อ่านได้ ต่อ 1 นาทีจะเพิ่มขึ้น
ให้เด็กชาย ป.4 คนหนึ่ง อ่านนิทานอิสป คิดเป็นหน่วย คำต่อนาที (Word Per Minute)
ครั้งที่ 1 = 43 WPM
ครั้งที่ 2 = 66 WPM
ถึงแม้ว่า จำนวนบรรทัดที่อ่าน อยู่ที่ 4-5 บรรทัด ถือว่า อ่านได้น้อย แต่เมื่อนับเป็นจำนวนคำ
รู้สึกว่า ตัวเลขมันเยอะ
.. และมีกำลังใจในการอ่านมากขึ้น
มีกำลังใจ ในการที่จะทำลายสถิติของตัวเอง
ลองค้นดู ข้อมูลเปรียบเทียบความเร็วในการอ่าน
อัดเสียงหนังสือ audio book 150 wpm
โฆษกประกาศการประมูล 250 wpm
นักพูดเร็วที่สุดในโลก 586 wpm
การอ่านตำรวเพื่อทำความเข้าใจ ความเร็วอยู่ที 50-75 wpm
โดยเฉลี่ย คนส่วนใหญ่ จะอ่านได้ประมาณ 200 wpm
ค่าเฉลี่ยคนเรา มีความสามารถในการอ่านได้ประมาณ 125-250 คำต่อนาที
* สมองคนเราจะประมวลผลการฟังสูงสุด ไม่เกิน 150 คำต่อนาที
ที่มา www.productivityware.com/articles/arct43.php
เมื่อเห็นตัวเลขเป้าหมาย แล้ว การพยายามที่จะพัฒนาการอ่านต่อนที ไปให้ถึงเป้าหมาย ความเร็วในการอ่านต่อนาที ที่ตัวเลขมาตรฐาน = 150 คำต่อนาที สำหรับเด็กได้ จึงเป็นเป้าหมายที่น่าไปให้ถึงครับ